ยินดีต้อนรับ เข้าสู่ Fai Thitikarn

วันอังคารที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2555


ASEAN

 asean_564
asean flags2
"One  Vision, One Identity, One Community"หนึ่งวิสัยทัศน์  หนึ่งอัตลักษณ์  หนึ่งประชาคม 

800px-flag_of_asean_svg



asean_2510
กำเนิดอาเซียน
       อาเซียน หรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South East AsianNations หรือ ASEAN) ก่อตั้งขึ้นโดยปฏิญญากรุงเทพ (Bangkok Declaration) ซึ่งได้มีการลงนามที่วังสราญรมย์ เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2510 โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสมาชิกก่อตั้ง 5 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย สิงคโปร์ และไทย ซึ่งผู้แทนทั้ง 5 ประเทศ ประกอบด้วยนายอาดัม มาลิก (รัฐมนตรีต่างประเทศอินโดนีเซีย) ตุน อับดุล ราชัก บิน ฮุสเซน (รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีกลาโหมและรัฐมนตรีกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติมาเลเซีย) นายนาซิโซ รามอส (รัฐมนตรีต่างประเทศฟิลิปปินส์) นายเอส ราชารัตนัม (รัฐมนตรีต่างประเทศสิงค์โปร์) และพันเอก (พิเศษ) ถนัด คอมันตร์ (รัฐมนตรีต่างประเทศไทย)
      ในเวลาต่อมาได้มีประเทศต่างๆ เข้าเป็นสมาชิกเพิ่มเติม ได้แก่ บรูไนดารุสซาลาม (เป็นสมาชิกเมื่อ 8 ม.ค.2527) เวียดนาม (วันที่ 28 ก.ค. 2538) สปป.ลาว พม่า (วันที่ 23 ก.ค. 2540) และ กัมพูชา เข้าเป็นสมาชิกล่าสุด (วันที่ 30 เม.ย. 2542) ให้ปัจจุบันมีสมาชิกอาเซียนทั้งหมด 10 ประเทศ
      วัตถุประสงค์ของการก่อตั้งอาเซียน คือ เพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดีต่อกันระหว่างประเทศในภูมิภาค ธำรงไว้ซึ่งสันติภาพเสถียรภาพ และความมั่นคงทางการเมือง สร้างสรรค์ความเจริญก้าวหน้าทางด้านเศรษฐกิจ การพัฒนาทางสังคมและวัฒนธรรมการกินดีอยู่ดีของประชาชนบนพื้นฐานของความเสมอภาคและผลประโยชน์ร่วมกันของประเทศสมาชิก
สัญลักษณ์ของอาเซียน คือ รูปรวงข้าว สีเหลืองบนพื้นสีแดงล้อมรอบด้วยวงกลม สีขาวและสีน้ำเงิน
รวงข้าว 10 ต้น หมายถึง ประเทศสมาชิก 10 ประเทศ
สีเหลือง  หมายถึง  ความเจริญรุ่งเรือง 
สีแดง  หมายถึง  ความกล้าหาญและการมีพลวัติ
สีขาว  หมายถึง  ความบริสุทธิ์ 
สีน้ำเงิน  หมายถึง  สันติภาพและความมั่นคงประชาคมอาเซียน (ASEAN Community)
            ประชาคมอาเซียนประกอบด้วยความร่วมมือ 3 เสาหลัก คือ 
        ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political and Security Community–APSC)
        ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community–AEC)
         ประชาคมสังคมและวัฒนธรรม (ASEAN Socio-Cultural Community–ASCC)

จุดเริ่มต้นแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง
ผลจากการใช้แนวทางการพัฒนาประเทศไปสู่ความทันสมัย ได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงแก่สังคมไทยอย่างมากในทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจ การเมือง วัฒนธรรม สังคมและสิ่งแวดล้อม อีกทั้งกระบวนการของความเปลี่ยนแปลงมีความสลับซับซ้อนจนยากที่จะอธิบายในเชิงสาเหตุและผลลัพธ์ได้ เพราะการเปลี่ยนแปลงทั้งหมดต่างเป็นปัจจัยเชื่อมโยงซึ่งกันและกัน
สำหรับผลของการพัฒนาในด้านบวกนั้น ได้แก่ การเพิ่มขึ้นของอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ความเจริญทางวัตถุ และสาธารณูปโภคต่างๆ ระบบสื่อสารที่ทันสมัย หรือการขยายปริมาณและกระจายการศึกษาอย่างทั่วถึงมากขึ้น แต่ผลด้านบวกเหล่านี้ส่วนใหญ่กระจายไปถึงคนในชนบท หรือผู้ด้อยโอกาสในสังคมน้อย
แต่ว่า กระบวนการเปลี่ยนแปลงของสังคมได้เกิดผลลบติดตามมาด้วย เช่น การขยายตัวของรัฐเข้าไปในชนบท ได้ส่งผลให้ชนบทเกิดความอ่อนแอในหลายด้าน ทั้งการต้องพึ่งพิงตลาดและพ่อค้าคนกลางในการสั่งสินค้าทุน ความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติ ระบบความสัมพันธ์แบบเครือญาติ และการรวมกลุ่มกันตามประเพณีเพื่อการจัดการทรัพยากรที่เคยมีอยู่แต่เดิมแตกสลายลง ภูมิความรู้ที่เคยใช้แก้ปัญหาและสั่งสมปรับเปลี่ยนกันมาถูกลืมเลือนและเริ่มสูญหายไป
สิ่งสำคัญ ก็คือ ความพอเพียงในการดำรงชีวิต ซึ่งเป็นเงื่อนไขพื้นฐานที่ทำให้คนไทยสามารถพึ่งตนเอง และดำเนินชีวิตไปได้อย่างมีศักดิ์ศรีภายใต้อำนาจและความมีอิสระในการกำหนดชะตาชีวิตของตนเอง ความสามารถในการควบคุมและจัดการเพื่อให้ตนเองได้รับการสนองตอบต่อความต้องการต่างๆ รวมทั้งความสามารถในการจัดการปัญหาต่างๆ ได้ด้วยตนเอง ซึ่งทั้งหมดนี้ถือว่าเป็นศักยภาพพื้นฐานที่คนไทยและสังคมไทยเคยมีอยู่แต่เดิม ต้องถูกกระทบกระเทือน ซึ่งวิกฤตเศรษฐกิจจากปัญหาฟองสบู่และปัญหาความอ่อนแอของชนบท รวมทั้งปัญหาอื่นๆ ที่เกิดขึ้น ล้วนแต่เป็นข้อพิสูจน์และยืนยันปรากฎการณ์นี้ได้เป็นอย่างดี
 พระราชดำริว่าด้วยเศรษฐกิจพอเพียง 

“...การพัฒนาประเทศจำเป็นต้องทำตามลำดับขั้น ต้องสร้างพื้นฐานคือ ความพอมี พอกิน พอใช้ของประชาชนส่วนใหญ่เบื้องต้นก่อน โดยใช้วิธีการและอุปกรณ์ที่ประหยัดแต่ถูกต้องตามหลักวิชาการ เมื่อได้พื้นฐานความมั่นคงพร้อมพอสมควร และปฏิบัติได้แล้ว จึงค่อยสร้างค่อยเสริมความเจริญ และฐานะทางเศรษฐกิจขั้นที่สูงขึ้นโดยลำดับต่อไป...” (๑๘ กรกฎาคม ๒๕๑๗)
“เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นแนวพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่พระราชทานมานานกว่า ๓๐ ปี เป็นแนวคิดที่ตั้งอยู่บนรากฐานของวัฒนธรรมไทย เป็นแนวทางการพัฒนาที่ตั้งบนพื้นฐานของทางสายกลาง และความไม่ประมาท คำนึงถึงความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันในตัวเอง ตลอดจนใช้ความรู้และคุณธรรม เป็นพื้นฐานในการดำรงชีวิต ที่สำคัญจะต้องมี “สติ ปัญญา และความเพียร” ซึ่งจะนำไปสู่ “ความสุข” ในการดำเนินชีวิตอย่างแท้จริง
“...คนอื่นจะว่าอย่างไรก็ช่างเขา จะว่าเมืองไทยล้าสมัย ว่าเมืองไทยเชย ว่าเมืองไทยไม่มีสิ่งที่สมัยใหม่ แต่เราอยู่พอมีพอกิน และขอให้ทุกคนมีความปรารถนาที่จะให้เมืองไทย พออยู่พอกิน มีความสงบ และทำงานตั้งจิตอธิษฐานตั้งปณิธาน ในทางนี้ที่จะให้เมืองไทยอยู่แบบพออยู่พอกิน ไม่ใช่ว่าจะรุ่งเรืองอย่างยอด แต่ว่ามีความพออยู่พอกิน มีความสงบ เปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ ถ้าเรารักษาความพออยู่พอกินนี้ได้ เราก็จะยอดยิ่งยวดได้...” (๔ ธันวาคม ๒๕๑๗)
พระบรมราโชวาทนี้ ทรงเห็นว่าแนวทางการพัฒนาที่เน้นการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศเป็นหลักแต่เพียงอย่างเดียวอาจจะเกิดปัญหาได้ จึงทรงเน้นการมีพอกินพอใช้ของประชาชนส่วนใหญ่ในเบื้องต้นก่อน เมื่อมีพื้นฐานความมั่นคงพร้อมพอสมควรแล้ว จึงสร้างความเจริญและฐานะทางเศรษฐกิจให้สูงขึ้น
                        ซึ่งหมายถึง แทนที่จะเน้นการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมนำการพัฒนาประเทศ ควรที่จะสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจพื้นฐานก่อน นั่นคือ ทำให้ประชาชนในชนบทส่วนใหญ่พอมีพอกินก่อน เป็นแนวทางการพัฒนาที่เน้นการกระจายรายได้ เพื่อสร้างพื้นฐานและความมั่นงคงทางเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ ก่อนเน้นการพัฒนาในระดับสูงขึ้นไป
                   ทรงเตือนเรื่องพออยู่พอกิน ตั้งแต่ปี ๒๕๑๗ คือ เมื่อ ๓๐ กว่าปีที่แล้ว 
                   แต่ทิศทางการพัฒนามิได้เปลี่ยนแปลง 
                        “...เมื่อปี ๒๕๑๗ วันนั้นได้พูดถึงว่า เราควรปฏิบัติให้พอมีพอกิน พอมีพอกินนี้ก็แปลว่า เศรษฐกิจพอเพียงนั่นเอง ถ้าแต่ละคนมีพอมีพอกิน ก็ใช้ได้ ยิ่งถ้าทั้งประเทศพอมีพอกินก็ยิ่งดี และประเทศไทยเวลานั้นก็เริ่มจะเป็นไม่พอมีพอกิน บางคนก็มีมาก บางคนก็ไม่มีเลย...” (๔ ธันวาคม ๒๕๔๑)
เศรษฐกิจพอเพียง 
“เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระราชดำริชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า ๒๕ ปี ตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ และเมื่อภายหลังได้ทรงเน้นย้ำแนวทางการแก้ไขเพื่อให้รอดพ้น และสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลงต่างๆ
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 
เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจ เพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์ ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควร ต่อการกระทบใดๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายในภายนอก ทั้งนี้ จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่งในการนำวิชาการต่างๆ มาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการ ทุกขั้นตอน และขณะเดียวกัน จะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎี และนักธุรกิจในทุกระดับ ให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติ ปัญญา และความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวาง ทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี
                   ความหมายของเศรษฐกิจพอเพียง จึงประกอบด้วยคุณสมบัติ ดังนี้ 
๑. ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไป โดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น การผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ
๒. ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้นๆ อย่างรอบคอบ
๓. ภูมิคุ้มกัน หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น โดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่างๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต
                        โดยมี เงื่อนไข ของการตัดสินใจและดำเนินกิจกรรมต่างๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียง ๒ ประการ  ดังนี้
๑. เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผนและความระมัดระวังในการปฏิบัติ
๒. เงื่อนไขคุณธรรม ที่จะต้องเสริมสร้าง ประกอบด้วย มีความตระหนักใน คุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริตและมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต

วันอาทิตย์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2555

iPad mini (ไอแพด มินิ) ใช้เทคโนโลยี thin-film touch ทำให้หน้าจอบางลง และประหยัดต้นทุนในการผลิต

<< กด Like เพื่อติดตาม

[16-พฤษภาคม-2555] ข่าววงในจากบริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วนให้กับ Apple ระบุว่า iPad Mini (ไอแพด มินิ) จะใช้เทคโนโลยีผลิตหน้าจอแบบ G/F2 thin-film touch ที่มีส่วนทำให้ iPad Mini (ไอแพด มินิ) นั้น มีขนาดที่บางลงกว่า ไอแพด (iPad) รุ่นปัจจุบัน นอกจากนี้ ยังช่วยประหยัดต้นทุนการผลิต และสามารถควบคุมราคา iPad Mini (ไอแพด มินิ) ให้อยู่ในช่วง 6,000 - 7,500 บาทต่อเครื่อง ได้อีกด้วย
จากการเปิดเผยของบริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วนให้กับ Apple ไม่ว่าจะเป็น Nitto ผู้ผลิต thin-film และ Nissha Printing and TPK ผู้ผลิตหน้าจอทัชสกรีน ได้เปิดเผยว่า เทคโนโลยี G/F2 thin-filum touch นั้น จะทำให้หน้าจอ iPad Mini (ไอแพด มินิ) บางลงกว่า ไอแพด (iPad) รุ่นปัจจุบัน เนื่องจากมีการลดเลเยอร์ฟิล์มออก 1 ชั้นนั่นเองครับ ซึ่งปกติแล้ว ไอแพด (iPad) จะใช้เทคโนโลยีแบบ G/F/F (Glass/Film/Film) แต่โครงสร้างของ G/F2 นั้น จะถูกแทนที่ด้วยขั้วไฟฟ้า ทั้งด้านบน และด้านล่างของ ITO film ซึ่งจะทำการเคลือบหน้าจออีกชั้นหนึ่งนั่นเองครับ
ทางบริษัทผู้ผลิตได้เผยอีกว่า เทคโนโลยีนี้ ใช้ต้นทุนการผลิตที่ต่ำกว่า ทำให้สามารถคงราคา iPad Mini (ไอแพด มินิ) ไว้ตามต้องการได้ ส่วนการวางจำหน่าย iPad Mini (ไอแพด มินิ) นั้น คาดว่าประมาณไตรมาสที่ 4 ของปีนี้ครับ - digitimes.com
iPad Mini (ไอแพด มินิ) ราคาเริ่มต้นเพียง 6,000 บาท จริงหรือ??
เว็บไซต์ iMore ได้เปิดเผยว่า ขณะนี้ Apple วางแผนที่จะเปิดตัว iPad Mini (ไอแพด มินิ) ในเดือนตุลาคมนี้ครับ คาดว่า หน้าจอจะอยู่ที่ขนาด 7 นิ้ว
แหล่งข่าวได้เปิดเผยอีกว่า iPad Mini (ไอแพด มินิ) นั้น จะมีคุณสมบัติเหมือน ไอแพด (iPad) รุ่นปัจจุบันครับ (แต่แหล่งข่าวไม่ได้บอกว่า เป็น iPad 2 หรือ The new iPad) แต่สิ่งที่แตกต่างก็คือ ขนาดหน้าจอที่เล็กลง อย่างไรก็ดี iPad Mini (ไอแพด มินิ) ยังคงเป็นหน้าจอแบบ Retina Display อยู่
ส่วนราคานั้น ต้องบอกว่า น่าสนใจมาก เนื่องจาก Apple จะตั้งราคาขาย iPad Mini (ไอแพด มินิ) เพียงแค่ 6,000 - 7,500 บาทเท่านั้นเอง แน่นอนว่า Apple คงจะตั้งราคาตัดคู่แข่งตลาดแท็บเล็ตในขณะนี้ เช่นเดียวกับเมื่อปี 2004 ที่เคยออก iPod mini เครื่องเล่น MP3 มาปิดตลาดช่องว่างของคู่แข่งนั่นเอง
อย่างไรก็ดี มีบทวิเคราะห์ว่า ถ้าหาก iPad Mini (ไอแพด มินิ) ถูกเคาะราคาไว้ที่ 6,000 - 7,500 บาทจริง นั่นหมายความว่า คงจะมีสเปคบางส่วนที่ถูกตัดออก หรือลดลง ยกตัวอย่างเช่น ขนาดความจุในตัวเครื่อง อาจจะเหลือเพียงแค่รุ่น 8GB เป็นต้น - macrumors.com
หน้าตาของ iPad Mini (ไอแพด มินิ)
ขณะนี้ ยังไม่มีภาพอย่างเป็นทางการของ iPad Mini (ไอแพด มินิ) ออกมาครับ แต่จากข้อมูลตามข่าวลือต่างๆ ที่คาดกันว่า iPad Mini (ไอแพด มินิ) คงไม่แตกต่างไปจาก ไอแพด 2 (iPad 2) เท่าไหร่ ยกเว้นขนาดหน้าจอเพียงอย่างเดียว ซึ่งไม่เพียงแค่ขนาดหน้าจอที่เล็กลงเท่านั้น แต่ขนาดของไอคอนบน iPad Mini (ไอแพด มินิ) ก็ยังเล็กลงอีกด้วย ถึงแม้ว่า ขนาดจะถูกกำหนดให้เล็กลงตามสัดส่วน แต่ก็คาดว่า ยังคงใช้งานได้สะดวกอยู่ดีครับ - macrumors.com

[16-พฤษภาคม-2555] ข่าววงในจากบริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วนให้กับ Apple ระบุว่า iPad Mini (ไอแพด มินิ) จะใช้เทคโนโลยีผลิตหน้าจอแบบ G/F2 thin-film touch ที่มีส่วนทำให้ iPad Mini (ไอแพด มินิ) นั้น มีขนาดที่บางลงกว่า ไอแพด (iPad) รุ่นปัจจุบัน นอกจากนี้ ยังช่วยประหยัดต้นทุนการผลิต และสามารถควบคุมราคา iPad Mini (ไอแพด มินิ) ให้อยู่ในช่วง 6,000 - 7,500 บาทต่อเครื่อง ได้อีกด้วย
จากการเปิดเผยของบริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วนให้กับ Apple ไม่ว่าจะเป็น Nitto ผู้ผลิต thin-film และ Nissha Printing and TPK ผู้ผลิตหน้าจอทัชสกรีน ได้เปิดเผยว่า เทคโนโลยี G/F2 thin-filum touch นั้น จะทำให้หน้าจอ iPad Mini (ไอแพด มินิ) บางลงกว่า ไอแพด (iPad) รุ่นปัจจุบัน เนื่องจากมีการลดเลเยอร์ฟิล์มออก 1 ชั้นนั่นเองครับ ซึ่งปกติแล้ว ไอแพด (iPad) จะใช้เทคโนโลยีแบบ G/F/F (Glass/Film/Film) แต่โครงสร้างของ G/F2 นั้น จะถูกแทนที่ด้วยขั้วไฟฟ้า ทั้งด้านบน และด้านล่างของ ITO film ซึ่งจะทำการเคลือบหน้าจออีกชั้นหนึ่งนั่นเองครับ
ทางบริษัทผู้ผลิตได้เผยอีกว่า เทคโนโลยีนี้ ใช้ต้นทุนการผลิตที่ต่ำกว่า ทำให้สามารถคงราคา iPad Mini (ไอแพด มินิ) ไว้ตามต้องการได้ ส่วนการวางจำหน่าย iPad Mini (ไอแพด มินิ) นั้น คาดว่าประมาณไตรมาสที่ 4 ของปีนี้ครับ - digitimes.com
iPad Mini (ไอแพด มินิ) ราคาเริ่มต้นเพียง 6,000 บาท จริงหรือ??
เว็บไซต์ iMore ได้เปิดเผยว่า ขณะนี้ Apple วางแผนที่จะเปิดตัว iPad Mini (ไอแพด มินิ) ในเดือนตุลาคมนี้ครับ คาดว่า หน้าจอจะอยู่ที่ขนาด 7 นิ้ว
แหล่งข่าวได้เปิดเผยอีกว่า iPad Mini (ไอแพด มินิ) นั้น จะมีคุณสมบัติเหมือน ไอแพด (iPad) รุ่นปัจจุบันครับ (แต่แหล่งข่าวไม่ได้บอกว่า เป็น iPad 2 หรือ The new iPad) แต่สิ่งที่แตกต่างก็คือ ขนาดหน้าจอที่เล็กลง อย่างไรก็ดี iPad Mini (ไอแพด มินิ) ยังคงเป็นหน้าจอแบบ Retina Display อยู่
ส่วนราคานั้น ต้องบอกว่า น่าสนใจมาก เนื่องจาก Apple จะตั้งราคาขาย iPad Mini (ไอแพด มินิ) เพียงแค่ 6,000 - 7,500 บาทเท่านั้นเอง แน่นอนว่า Apple คงจะตั้งราคาตัดคู่แข่งตลาดแท็บเล็ตในขณะนี้ เช่นเดียวกับเมื่อปี 2004 ที่เคยออก iPod mini เครื่องเล่น MP3 มาปิดตลาดช่องว่างของคู่แข่งนั่นเอง
อย่างไรก็ดี มีบทวิเคราะห์ว่า ถ้าหาก iPad Mini (ไอแพด มินิ) ถูกเคาะราคาไว้ที่ 6,000 - 7,500 บาทจริง นั่นหมายความว่า คงจะมีสเปคบางส่วนที่ถูกตัดออก หรือลดลง ยกตัวอย่างเช่น ขนาดความจุในตัวเครื่อง อาจจะเหลือเพียงแค่รุ่น 8GB เป็นต้น - macrumors.com
หน้าตาของ iPad Mini (ไอแพด มินิ)
ขณะนี้ ยังไม่มีภาพอย่างเป็นทางการของ iPad Mini (ไอแพด มินิ) ออกมาครับ แต่จากข้อมูลตามข่าวลือต่างๆ ที่คาดกันว่า iPad Mini (ไอแพด มินิ) คงไม่แตกต่างไปจาก ไอแพด 2 (iPad 2) เท่าไหร่ ยกเว้นขนาดหน้าจอเพียงอย่างเดียว ซึ่งไม่เพียงแค่ขนาดหน้าจอที่เล็กลงเท่านั้น แต่ขนาดของไอคอนบน iPad Mini (ไอแพด มินิ) ก็ยังเล็กลงอีกด้วย ถึงแม้ว่า ขนาดจะถูกกำหนดให้เล็กลงตามสัดส่วน แต่ก็คาดว่า ยังคงใช้งานได้สะดวกอยู่ดีครับ - macrumors.com

วันอาทิตย์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ชื่อ-นามสกุล ฐิติการณ์ รุ่งเหมือนฟ้า   ชื่อเล่น ฝ้าย
เกิดวันที่ 13 พฤษภาคม 1998